This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

2.3 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

0 ความคิดเห็น

            ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้น ทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความ ประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อ บังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือ ข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่าย เป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่าย อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะ ต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสาร ที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และ เป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไป เป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต 

        บัญญัติ 10 ประการ

  1.  ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
  2.  ไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น

  3.  ไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น

  4.  ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
  5.  ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
  6.  ไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
  7.  ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
  8.  ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
  9.  คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.  ใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท
       จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อ สังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวาง ระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและ กัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน

ที่มา : หนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.๕

2.2 บริการบนอินเทอร์เน็ต

0 ความคิดเห็น

         บริการบนอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
          1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (e-mail) เป็นบริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความ และไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (e-mail address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่ใช้รับและส่งจดหมาย เช่น http://www.hotmail.com เป็นต้น

www.hotmail.com

          2. เมลลิงลิสต์ (mailing list) เป็นเสมือนเครื่องมือที่ใช้กระจายข่าวสารและข้อมูลเฉพาะกลุ่ม การใช้งานจะเป็นลักษณะของการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยใช้อีเมลแอดเดรสเป็นสื่อติดต่อและรับข่าวสารต่างๆ จากกลุ่ม เช่น http://www.coolist.com เป็นต้น

         3. การสื่อสารในเวลาจริง (real time communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเข้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่งจากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และ วอยซ์โอเวอร์ไอพี เช่น แชท ห้องคุย เป็นต้น

www.xat.com

         4. เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking Web sites) เป็นชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ใช้มีความสนใจร่วมกัน เช่น การแบ่งปันวีดิทัศน์ การเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น การทำความรู้จักกัน การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการรวบรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หรือให้ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลในการประกอบอาชีพ เช่น facebook, myspace, Linkedin, hi5 และ GotoKnow
www.hi5.com

         5. บล็อก (blog) เป็นระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ รายการหัวข้อที่ปรากฏในบล็อกมักจะเรียงลำดับหัวข้อที่นำเสนอล่าสุดไว้ที่ส่วนบนคำว่า “บล็อก” มาจากคำว่า “เว็บล็อก (web log)” เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏมีลักษณะเป็นการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บที่มีการระบุวันเวลารวมถึงผู้บันทึกข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้ หัวข้อข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกันจนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ข้อมูลและความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพ หรือ มัลติมิเดียได้ เช่น Blogger, GooggleBlog และ BLOGGANG

www.blogger.com

         6. วิกิ (wiki ) เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่ หรือเป็นผู้ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายละเอียดของข้อมูลที่เผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผู้สอนและผู้เรียนสมารถใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน องค์กรธุรกิจสามารถใช้เป็นที่รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินการสำหรับให้บุคคลในองค์กรใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้สามารถเรียกดูประวัติการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังได้ ดังนั้นวิกิจึงเหมาะสำหรับการเก็บรวบรวมรายละเอียดของเอกสารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างวิกิ เช่น Wiki pedia , WIKIBOOKS


www.wiki.com


          7. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะสามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้านดนตรี กีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่างภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser)ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกระจายเอกสารที่เครือข่ายที่ทำไว้เกตส์ (Gates, 1995) ได้กล่าวถึงเว็บไว้ว่า นอกเหนือจากการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการแลกเปลี่ยนเอกสารกันแล้ว อินเทอร์เน็ตยังสนับสนุนสืบค้นข้อมูล อันเป็นโปรแกรมการใช้งานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแบบหนึ่งนั่นคือเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งหมายถึงเครื่องบริการเว็บที่ต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยมีข่าวสารเป็นภาพกราฟิก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องบริการเว็บประเภทนั้น จอภาพจะปรากฏข่าวสารพร้อมด้วยการเชื่อมโยง เมื่อเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่จุดเชื่อมโยงใดๆ ก็จะเป็นการเปิดไปสู่อีกหน้าหนึ่งที่มีข่าวสารเพิ่มเติมพร้อมทั้งการเชื่อมโยงจุดใหม่อื่นๆ ซึ่งข่าวสารหน้าใหม่นี้อาจจะอยู่ในเครื่องบริการเว็บเดียวกันหรืออาจเป็นเครื่องบริการเว็บอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ตกิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้กล่าวถึงเวิลด์ไวด์เว็บว่า เป็นบริการสืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตในระบบข้อความหลายมิติ (hypertext) โดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง เพื่อเสนอหน้าเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสารสนเทศที่นำเสนอจะมีรูปแบบทั้งในลักษณะของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง การเข้าสู่ระบบเว็บจะต้องใช้โปรแกรมทำงานซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator), อินเทอร์เน็ต เอ็กซพลอเรอร์ (Internet Explorer) มอเซอิก (Mosaic) โปรแกรมเหล่านี้ช่วยให้การใช้เว็บในอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น






          8. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic commerce หรือ e – commerce ) เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซด์เป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่าง เช่น ร้านขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอรายการและตัวอย่างหนังสือบนเว็บได้ มีระบบค้นหาหนังสือที่ลูกค้าต้องการ โดยดูตัวอย่างหนังสือก่อน และถ้าต้องการสั่งซื้อ ก็สามารถสั่งซื้อได้โดยกรอกแบบฟอร์มการสั่งซื้อ พร้อมทั้งเลือกวิธีการชำระเงินค่าหนังสือทีมีหลายรูปแบบ เช่น ระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือระบบการนำส่งสินค้าแล้วจึงค่อยชำระเงิน ตัวอย่างการซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ต

ที่มา : https://sites.google.com/site/kruyutsbw/5-3-brikar-bn-xinthexrnet



2. อินเทอร์เน็ต

0 ความคิดเห็น

ในสังคมสารสนเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความรู้ความเข้าใจในระบบอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนในสังคม ซึ่งในปัจจุบันถ้ากล่าวถึงอินเทอร์เน็ต หลายๆ คนคงรู้จักและเคยใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การพูดคุยออนไลน์ (talk) เป็นต้น

            2.1  ความหมายและพัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
           อินเทอร์เน็ต (internet) มาจากคำว่า interconnection network หมายถึง การ ใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาเชื่อม ต่อกันโดยผ่านสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง  เช่น สายโทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น เพื่อสื่อสารข้อมูลกัน โดยอินเทอร์เน็ตเป็นการนำเครือข่ายขนาดเล็กมาเชื่อมต่อกันจนเป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่คลอบคลุมทั่วโลกโดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูล ระหว่างกันเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายแต่ละเครื่องสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศขนาดมหึมาที่ครอบ คลุมศาสตร์ทุกแขนง รวมถึงบริการต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ทำให้อินเทอร์เน็ต กลายเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน

ที่มา : http://sirintipkongchanta.wordpress.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87/

1.3 การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

0 ความคิดเห็น

 สามารถเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( Network OS ) เป็นระบบปฎิบัติการสำหรับออกแบบและจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟ เวอร์ คือการจัดการข้อมูลและโปรแกรมทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์และส่วนประกอบ อื่นๆของระบบปฎิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลเอนด์ เช่นการประมวลผล การติดต่อกับผู้ใช้ เป็นต้น

            ปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก  มีให้เลือกใช้งานหลายโปรแกรม   เช่น
1) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส (linux community enterprise operating system) เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991 โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ในลักษณะของงานลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ลีนุส เห็นว่าระบบมินิกซ์ (Minix) ที่เป็นระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งทำการพัฒนาโดย ศ.แอนดรูว์ ทาเนนบาวม์ (Andrew S. Tanenbaum) ยังมีความสามารถไม่เพียงพอแก่ความต้องการ จึงได้เริ่มต้นทำการพัฒนาระบบยูนิกซ์ของตนเองขึ้นมา โดยจุดประสงค์อีกประการ คือต้องการทำความเข้าใจในวิชาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยลีนุสจะเป็นคนรวบรวมโปรแกรมที่ผู้พัฒนาต่างๆได้ร่วมกันทำการพัฒนาขึ้นมาและแจกจ่ายให้ทดลองใช้เพื่อทดสอบหาข้อบกพร่อง ที่น่าสนใจก็คืองานต่างๆเหล่านั้นผู้คนทั้งหมดต่างก็ทำงานโดยไม่คิดค่าตอบแทน และทำงานผ่านอินเทอร์เนตทั้งหมด

           2) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server) ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็น Windows Server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพิเคชั่น และที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์ สามารถพัฒนาให้บิการและจัดการกับแอพพิเคชั่นต่างๆที่เสริมสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface : UI) เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการใช้งานสูงสุดนอกจากนี้ยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีความปลอดภัยสูง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าด้านเทคโนโลยีให้กับองค์กร โดยมีการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานใหม่ๆ และยังเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบปฏิบัติการพื้นฐาน มีคุณสมบัติเด่น ดังนี้

             
              1. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์
               2. เวอร์ชวลไลเซชั่น (virtualization) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสร้างระบบเสมือนจริงมีรากฐานจาก hypervisor
               3. มีระบบจัดการและดูแลเว็บ ระบบวิเคราะห์ปัญหา เครื่องมือพัฒนา แอพพิเคชันที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น
               4. ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น และมีนวัตกรรมด้านความปลอดภัยใหม่ๆ อีกหลายชนิดเพื่อให้การติดตั้งระบบเครือข่ายตามนโยบายความปลอดภัยทำได้ง่ายขึ้น ช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของระบบเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงข้อมูลสำคัญด้วย

ที่มา : http://benzsuksai.blogspot.com/2014/06/blog-post_28.html

2.2 การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล

0 ความคิดเห็น

จากข้อจำกัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนด์ที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า  100 เมตรได้  จึงต้องหาทางเลือกสำหรับระบบ เครือข่ายระยะไกล

                     ในกรณีที่เครือข่ายมีการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก  ควรเลือกใช้เราเตอร์เพื่อช่วยลดปัญหาความหนาแน่นของข้อมูลในเครือข่าย แต่เนื่องจากเราเตอร์มีราคาแพงจึงต้องประเมินความคุ้มค่าหากต้องการจัดซื้อมาใช้งาน

       แบบที่ 1  คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญณาณ (repeater) ไว้ทุกๆระยะ 100 เมตร เพราะเนื่องจากข้อจำกัดที่ไม่สามารถติดตั้งฮับหรือสวิตซ์โดยผ่านสายตีเกลียวคู่ได้

       แบบที่ 2  คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อ และเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ แต่ความเร็วที่ได้จะได้แค่เพียงความสามารถของสายโทรศัพท์

       แบบที่ 3   คือ เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้คือสายใยแก้วนำแสง สามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง  รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูล

       แบบที่ 4   คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายโทรศัพท์ เพื่อลดปัญหาจากการใช้สายสัญญาณ เหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด

       แบบที่ 5   คือ เทคโนโลยี G.SHDSL  ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล DSL (Digital Subsciber Line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดากลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัลความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้สามารถส่งข้อมูลในขณะเดียวกันกับการใช้งานโทรศัพท์ได้

      แบบที่ 6   คือ เทคโนโลยีแบบ ethernet  over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้มีต้นทุนต่ำโยสามารถเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ทั่วไป

ที่มา: หนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.๕
 

2. การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

0 ความคิดเห็น


 การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 แบบหลักๆ คือ  การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้  การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
     
        2.1   การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้

            หากมีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว  ยังต้องมีการ์ดแลนด์และสายสัญญาณ  โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตซ์ เพราะถ้ามีคอมพิวเตอร์แค่สองเครื่อง ก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว้ (cross line) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเข้าหากันโดยตรงได้ แต่ถ้ามีคอมพิวเตอร์ในระะบบเครือข่ายมากกว่าสองเครื่อง ควรใช้สวิตซ์หรือฮับด้วย โดยในกรณีที่เครือข่ายมีขนาดไม่ใหญ่นัก ควรเลือกใช้ฮับ เนื่องจากสวิตซ์มีราคาแพง

            การตัดสินใจซื้อ ฮับและสวิตซ์ มาใช้จะต้องคำนึงถึงเรื่องการขยายระบบเครือข่ายในอนาคตด้วย  ควรเลือกฮับและสวิตซ์ที่สามารถรับรองจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เท่ากับ จำนวนที่คาดว่าจะมีในอนาคต หรือเลือกฮับหรือสวิตซ์ที่ใช้พอร์ตจำพวก up link ทำหน้าที่เป็น back bone ความเร็วสูง ทำให้สามารถพ่วงกับฮับหรือสวิตซ์อีกตัวได้ หากจะขยายระบบเครือข่ายก็เพียวซื้อฮับหรือสวิตซ์เพิ่มเข้าไปได้ทันที

            ใน กรณีที่ในเครือข่ายมีการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก ควรเลือกใช้เราเคอร์เพื่อช่วยลดปัญหาความหนาแน่นของข้อมูลในเครือข่าย แต่เนื่องจากเราเตอร์มีราคาแพงจึงต้องประเมินความคุ้มค่าหากต้องการจัดซื้อ มาใช้งาน



ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.2 การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

0 ความคิดเห็น

          การติดตั้งเครือข่ายขนาดเล็ก มีจุดประสงค์เพื่อใช้งานภายในบ้านหรือในสำนักงานขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น ข้อมูล เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ เป็นต้น

         1.  อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิด ได้แก่ การ์ดแลน ฮับ สวิตซ์ โมเด็ม เราเตอร์ สายสัญญาณ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้

                  1.1    การ์ดแลน (lan card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ ที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านสายแลน ซึ่งในอดีตเป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้ต่อเพิ่มเข้ากับเมนบอร์ด เนื่องจากความต้องการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกลายเป็นความจำเป็นพื้นฐานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในปุจจุบัน


                 1.2   ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล  หน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ส่งผ่านฮับจะกระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น จากการทำงานในลักษณะนี้ ทำให้เครือข่ายที่ใช้ฮับเป็นตัวกระจายสัญญาณจะสามารถส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายได้ทีละเครื่อง ซึ่งหากมีการส่งข้อมูลพร้อมกัน การรับส่งข้อมูลจะทำได้ช้ามาก ปัจจุบันฮับจึงไม่
ได้รับความนิยมในการเชื่อมต่อเรือข่าย

                 1.3  สวิทช์ (switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ  แต่ต่างจากฮับ  คือ การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง เนื่องจากสวิทช์จะรับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นข้อมูลของเครื่องใด แล้วจึงนำข้อมูลนั้นๆ ส่งไปยังเครื่องปลายทางอย่างอัตโนมัติ เปรียบได้กับการทำงานของสายโทรศัพท์ที่หลายๆคู่สายสามารถพูดคุยพร้อมๆ กันได้ สวิตซ์ช่วยลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังช่วยป้องกันการดักรับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย จากคุณลักษณะนี้ทำให้สวิคซ์สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮับ แต่สวิตซ์จะมีราคาแพงกว่าฮับ


                 1.4    โมเด็ม (modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อใหสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ (telephone) หรือใยแก้วนำแสงได้ (fiber opic cable) ได้ทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ไกล

                 1.5     อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือ เราเตอร์ (router)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน การส่งข้อมูลจึงมีหลายเส้นทาง เราเตอร์ทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการล้มเหลวในการส่งข้อมูล จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้เราเตอร์มีราคาสูง

                 1.6    สายสัญญาณ (cable)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอกซ์ (coaxial cable) สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวน (Shielded Twisted Pair : STP) และสายใยแก้วนำแสง (fiber opic cable)
สายโคแอกช์
สาย UTP
สาย STP
สายใยแก้วนำแสง



ที่มา : http://supaporn3432101.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์

0 ความคิดเห็น

           การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในอดีตจะใช้วิธีบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ (floppy disk) และส่งไปยังปลายทางโดยอาศัยผู้ส่งดิสก์ เรียกการติดต่อสื่อสารแบบนี้ว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีคนเป็นสื่อรับส่งข้อมูล ( sneakernet) ซึ่งการส่งข้อมูลในลักษณะดังกล่าวทำให้เสียเวลาและบุคลากรไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ยังอาจทำให้ข้อมูลสูญหายในระหว่างการเคลื่อนย้ายได้ ดังนั้น จึงมีการพัฒนาระบบเครือข่ายขึ้่นมาเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร เรียกว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์
   1.1 ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ เช่น สายสัญญาณ คลื่นวิทยุ เป็นต้น เพื่อทำให้ที่มีราคาแพง เป็นต้น ซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กร

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท 

1. เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ แลน (local area network : LAN)

2. เครือข่ายนครหลวง หรือ แมน (metropolitan area network : MAN)

3. เครือข่ายยริเวณกว้าง หรือแวน (wide area network : WAN)

4. เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต (intranet)    

5. เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือเอ็กทราเน็ต (extranet)

6. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (internet)     



ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ

ที่มาhttp://supaporn3432101.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

0 ความคิดเห็น

      การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ ทำให้สามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้ทรัพยากรร่าวมกันได้ ซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กร ปัจจุบันการสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทำได้ง่าย และสดวกสายมากขึ้น แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกัน โดยใช้ระบบอินเทอร์เน้ต ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายขนาดเล็กมาเชื่อมต่อกันจนเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุมทั่วโลก โดยมีมารฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกัน อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศที่ครอบคลุมศาสตร์ทุกแขนง รวมถึงบริการต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ทำให้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน

ที่มา: 

 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต © 2012 | Designed by Meingames and Bubble shooter